วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สรุปมาตราส่วน นางสาวชฎาพร กาญจนอารีย์ รหัส 5411103070


มาตราส่วน

                การเขียนแบบส่วนใหญ่จะเขียนเท่าของจริง แต่บางครั้งงานใหญ่จะไม่สามารถเขียนลงในกระดาษได้ จึงจำเป็นจะต้องใช้มาตราส่วนย่อส่วนให้ชิ้นงานเล็กลงพอที่จะเขียนลงในกระดาษได้ หรือถ้าชิ้นงานมีขนาดเล็กก็จะต้องขยายให้โตขึ้น เพื่อให้สามารถแสดงรายละเอียดให้ชัดเจน ซึ้งไม่ว่าจะเป็นการย่อหรือการขยาย ผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงสัดส่วนของงานที่เขียนลงไปแบบว่ามีขนาดเหมาะสมกับกระดาษหรือไม่

                                มาตราส่วนที่ใช้ในงานเขียนแบบมีอยู่ 3 ชนิด คือ

1.             มาตราส่วนปกติ คือ 1 : 1

2.             มาตราส่วนย่อ คือ 1 : 2.5,1 : 10,1 : 25,1 : 50,1 : 100

3.             มาตราส่วนขยาย คือ 2 : 1, 10 : 1,50 : 1,100 : 1

เลขตัวหน้าของมาตราส่วน หมายถึง ขนาดที่ต้องเขียนลงในแบบ

เลขตัวหลังของมาตราส่วน  หมายถึง ขนาดสัดส่วนของชิ้นงาน

สำหรับการใช้ ไม่ว่าจะเป็นมาตราส่วนจริง มาตราส่วนย่อ หรือมาตราส่วนขยาย ขนาดของรูปจะต้องเขียนไปตามมาตราส่วนที่กำหนดไว้
                การเขียนแบบด้วยวิธีการย่อหรือขยายส่วนนั้น มีข้อสังเกตดังนี้

1.                การเขียนแบบที่มีขนาดเท่ากับของจริง หมายถึงการใช้ มาตราส่วน 1 : 1

2.                การสังเกตว่ามาตราส่วนนั้นเป็นมาตราส่วนย่อหรือ มาตราส่วนขยาย ดังนี้

2.1      ถ้าหมายเลข 1 อยู่หน้า เครื่องหมาย = เป็นมาตรส่วนย่อ

2.2      ถ้าหมายเลข 1 อยู่หลัง เครื่องหมาย = เป็นมาตราส่วนขยาย

3.                การเขียนมุมขนาดต่างๆที่มีอยู่ในแบบไม่ต้องทำการย่อหรือขยายส่วนใดทั้งสิ้น

4.                การเขียนตัวเลขบอกขนาดต้องเขียนตามขนาดความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นมาตราส่วนย่อหรือมาตราส่วนขยายก็ตาม

5.                เมื่อทำการเขียนแบบมาตราส่วนที่ต้องการ ผู้เขียนต้องระบุมาตราส่วนที่ใช้ลงในแบบด้วย

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น